เมนู

2. อารัมมณปัจจัย


[1143] 1. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ 1. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา แล้วพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา. ออกจาก
ฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา, ออกจากมรรค, ออกจากผลแล้ว, พิจารณา
ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา.
2. พระอริยบุคคลทั้งหลาย พิจารณากิเลสทั้งหลายที่ละแล้วที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา พิจารณากิเลสทั้งหลายที่
ท่านข่มแล้ว. รู้กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดแล้วในกาลก่อน, พิจารณาเห็นขันธ์ที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วย
จิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา, ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์
นั้น ราคะ ทิฏฐิ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ
3. เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ขันธ์ทั้ง-
หลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น.
[1144] 2. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ 1. เมื่อบุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วย
จิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแล้ว โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีวิปปฏิสาร.
2. เมื่อฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเสื่อมไป โทมนัสย่อมเกิด
ขึ้นแก่บุคคลผู้มีวิปปฏิสาร.
3. เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ขันธ์ทั้ง-
หลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น.

[1145] 3. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ 1. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา แล้วพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
2. บุคคลออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา, ออกจากมรรค,
ออกจากผลแล้ว, พิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
3. พระอริยบุคคลทั้งหลายพิจารณากิเลสทั้งหลาย ที่ละแล้ว ที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา พิจารณากิเลส
ทั้งหลาย ที่ข่มแล้ว, รู้กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดแล้วในกาลก่อน. พิจารณา
เห็นขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
4. บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น
ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น.
5. พระอริยบุคคลทั้งหลาย รู้จิตของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียง
ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยเจโตปริยญาณ.
6. ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่เจโตปริย-
ญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
7. เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ขันธ์
ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น.
[1146] 4. ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ 1. เพราะปรารภซึ่งโทสะ โทสะ โมหะ ย่อมเกิดขึ้น. เพราะปรารภ
โมหะที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา โมหะ โทสะ ย่อมเกิดขึ้น. เพราะปรารภ
ทุกขสหคตกายวิญญาณ โทสะ โมหะ ย่อมเกิดขึ้น. .

2. เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ขันธ์
ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น.
[1147] 5. ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ 1. พระอริยบุคคลทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนา ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา พิจารณากิเลสทั้งหลายที่ข่มแล้ว,
รู้กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดแล้วในกาลก่อน, พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา.
2. เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ขันธ์
ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น.
[1148] 6. ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ 1. พระอริยบุคคลทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้วที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนา ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา พิจารณากิเลสทั้งหลายที่
ข่มแล้ว, รู้กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดแล้วในกาลก่อน, พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลาย
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
2. รู้จิตของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจิตที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนา ด้วยเจโตปริยญาณ.
3. ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่เจโต-
ปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

4. เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ขันธ์
ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น.
[1149] 7. ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอารัมมณ-
ปัจจัย

คือ 1. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิต
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา แล้วพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนา ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา, ออกจากมรรค, ออกจาก
ผล แล้วพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
2. พระอริยบุคคลทั้งหลาย พิจารณากิเลสทั้งหลายที่ท่านละได้
แล้วที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา,
พิจารณากิเลสทั้งหลายที่ข่มแล้ว. รู้กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดแล้วในกาลก่อน,
พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดีด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
3. บุคคลย่อมเพลิดเพลินยิ่งเพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะ ทิฏฐิ
วิจิกิจฉา อุทธัจจะ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น.
4. พระอริยบุคคลทั้งหลาย รู้จิตของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียง
ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยเจโตปริยญาณ.
5. อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ด้วยอำ-
นาจของอารัมมณปัจจัย ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญา-
นาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

6. ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
แก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนา-
คตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
7. เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น.
[1150] 8. ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ 1. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา แล้วพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ออกจากมรรค ออกจากผลแล้ว
ย่อมพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา.
2. พระอริยบุคคลทั้งหลาย. พิจารณากิเลสทั้งหลายที่ละได้แล้ว
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา พิจารณากิเลส
ทั้งหลายที่ข่มแล้ว, รู้กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดแล้วในกาลก่อน, เพราะปรารภ
ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา, ย่อมยินดี
ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะ ทิฏฐิ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ
3. เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลาย ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น.
[1151] 9. ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ 1. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วย
จิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา โทมนัสย่อมเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้มีวิปปฏิสาร.
2. เมื่อฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เสื่อมไปแล้ว โทมนัส
ย่อมเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้มีวิปปฏิสาร.
3. เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[1152] 1. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
1. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแล้ว กระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อม
พิจารณา ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา.
2. ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจากมรรค ออก
จากผลแล้ว กระทำฌานเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อม
พิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา.
3. ย่อมยินดีย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่สัม-
ปยุตด้วยสุขเวทนาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ครั้นกระทำขันธ์นั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ